วัวพื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงตามวิถีเกษตรชุมชนและปล่อยให้หากินเอง (ศูนย์เครือข่ายการวิจัยด้านเทคโนโลยีเนื้อสัตว์) |
ผลงานวิจัยล่าสุดจากศูนย์เครือข่ายการวิจัยด้านเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทาง รศ.ดร.จุฑารัตน์ เศรษฐกุล หัวหน้าศูนย์ดังกล่าวให้ความเห็นว่า เราอาจมอง “แหนมโคพื้นเมือง” นี้เป็นอาหารฟังก์ชัน (functional food) ก็ได้ เนื่องจากวิธีการหมักนั้นได้ใช้เชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติก ซึ่งช่วยในเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหาร และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย
ทั้งนี้ รศ.ดร.อดิสร เสวตวิวัฒน์ จากคณะอุตสาหกรรมเกาตรและ ผศ.ดร.คมแข พิลาสมบัติ จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.สามารถแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างสาร “แบคเตอไรโอซิน” (bacteriocin) และมีคุณสมบัติเป็น “โปรไบโอติก” (probiotic) จึงได้นำเชื้อดังกล่าวมาใช้หมักแหนมที่ได้จากเนื้อวัวพันธุ์พื้นเมือง
รศ.ดร.จุฑารัตน์ เศรษฐกุล เริ่มต้นสาธิตการทำแหนมเนื้อวัวพันธุ์พื้นเมือง |
“เชื้อของเราไม่แค่ผลิตแลคติกได้แต่ผลิตไบโอติกด้วย ทำให้การสร้างความเป็นกรดดีขึ้น กำหนดเวลาการเป็นแหนมได้ ซึ่งปกติเวลาหมักแหนมเนื้อวัวนั้นต้องใช้เวลานานมาก ผ่านไป 5 วันยังไม่เป็นแหนม แต่เมื่อเราหมักด้วยเชื้อที่คัดแยกมาได้นี้ทำให้เป็นแหนมได้เร็วขึ้น ผ่านไป 5 วันก็เป็นแหนมแล้ว แต่เรื่องความเป็นกรดยังไม่เป็นที่พอใจนัก เพราะแหนมที่ดีควรมีค่าพีเอช (pH) ประมาณ 4.5 แต่เราทำได้ 4.8-4.9” รศ.ดร.จุฑารัตน์ กล่าว
เนื้อวัวที่ใช้เป็นเนื้อล้วนๆ ไม่ใช้เนื้อที่ติดเอ็นหรือมัน แต่จะผสมเอ็นวัวตามทีหลัง |
ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้พิสูจน์ความเป็นโปรไบโอติกของเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการทดลองในห้องปฏิบัติการและจำลองสภาพแวดล้อมภายในหลอดทดลองให้คล้ายกับสภาพแวดล้อมในสำไล้ เพราะจุลินทรีย์ดังกล่าวจะเป็นจุลินทรีย์โปรไบโอติกหรือไม่นั้นต้องทนต่อน้ำย่อยในกระเพาะซึ่งมีความเป็นกรดสูงได้ และยังต้องทนต่อน้ำดีได้ด้วย ซึ่งจากการทดลองพิสูจน์ว่าจุลินทรีย์เหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้
เชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติก |
สาธิตการทำแหนมเนื้อวัวพันธุ์พื้นเมือง |
ส่วนแหล่งผลิตเนื้อวัวนั้นทีมวิจัยใช้เนื้อวัวพันธุ์พื้นเมืองในโครงการวิจัยของศูนย์เครือข่ายการวิจัยด้านเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.ซึ่งร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีในการเพาะเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองตามวิถีเกษตรชุมชนและพึ่งพิงธรรมชาติ โดยปล่อยให้วัวตามทุ่งเพื่อหากินหญ้าเอง รวมทั้งควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ และใช้หลักสวัสดิการสัตว์ (animal welfare) ในการจัดการ
อัดเป็นแท่ง |
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น